top of page

เยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) 
         ลักษณะโครงสร้าง ประกอบด้วย ฟอสโฟลิพิด (Phosholipid) จัดเรียงตัวเป็น 2 ชั้น  มีโปรตีนแทรกเกาะติดอยู่ และยังมีสารพวกไกลโคลิพิด ไกลโคโปรตีน และคอเลสเตอรอล
         หน้าที่  ห่อหุ้มเซลล์ทำให้มีขอบเขตแน่นอน  และรักษาสมดุลของสารภายในเซลล์โดยเป็นเยื่อเลือกผ่าน  คัดเลือกสารที่จะผ่านเข้าและออกจากเซลล์ พบในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด

ภาพแสดง โครงสร้างและส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์

      ฟอสโฟลิพิด (phospholipid) เป็นลิพิดที่ประกอบด้วยหมู่ฟอสเฟตเอสเทอร์ สารพวกนี้พบเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) ซึ่งทำหน้าที่เลือกให้สารบางชนิดผ่านเข้าไปภายในเซลล์ได้ พบมากในส่วนสมองและเส้นประสาท

     

       ฟอสโฟลิพิด 1 โมเลกุล เกิดจากการรวมตัวของกลีเซอรอล 1 โมเลกุล กรดไขมัน 2 โมเลกุล และหมู่ฟอสเฟตอีก 1 หมู่   สูตรทั่วไปของฟอสโฟลิพิดเป็นดังนี้

ภาพแสดง สูตรทั่วไปของฟอสโฟลิพิด

 X            คือส่วนที่มีขั้ว                                  R1 , R2  คือส่วนที่เป็นไฮโดรคาร์บอน

           ฟอสโฟลิพิดแบ่งเป็น 2 ประเภท คือฟอลโฟกลีเซอไรด์ และสฟิงโกลิพิด ตัวอย่างของฟอสโฟลิพิด เช่น เลซิติน (lecithin) พบมากในเนื้อเยื่อของคนและสัตว์ เลซิตินทำหน้าที่เป็นตัวทำละลายคอเลสเทอรอล  ไตรกลีเซอไรด์ และไขมันที่อยู่ในหลอดเลือดให้แตกตัวเป็นอนุภาคเล็ก ๆ เป็นเนื้อเดียวกับเลือด เป็นการช่วยป้องกันไม่ให้ไขมันไปเกาะที่ผนังหลอดเลือด

        อาหารที่มีเลซิตินสูง ได้แก่ ตับ เนื้อวัว ไข่ เนยแข็ง ถั่วเหลือง ข้าวโพด ข้าวโอต ข้าวสาลี  ซึ่งปกติร่างกายสามารถสร้างเลซิตินได้เอง

bottom of page